messager
 
เทศบาลตำบลดงหลวง home ข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน

เทศบาลตำบล
ดงหลวง
อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
place ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน
สภาพทั่วไป เทศบาลตำบลดงหลวง เป็นเทศบาล ๑ ใน ๓ เทศบาลตำบลดงหลวง ได้รับการยกฐานขึ้นเป็น เทศบาลตำบลดงหลวง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ และสำนักงานเทศบาลตำบลดงหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เป็นเทศบาลขนาดเล็ก ต่อมาได้เป็นเทศบาลขนาดกลาง เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๗ อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอดงหลวง โดยห่างจากอำเภอดงหลวง ประมาณ ๘๐๐ เมตร ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร ประมาณ ๕๘ กิโลเมตรและห่างจากกรุงเทพมหานคร ๖๔๓ กิโลเมตรและมีประวัติการตั้งถิ่นฐานมานานหลายปีมีชนเผ่าพื้นเมือง คือไทกะโซ่ ส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชนที่ถือปฏิบัติกันมาจากบรรพบุรุษ ตามความเชื่อของชนเผ่า เช่น โซ่ทั่งบั้ง พิธีเหยา พิธีซางกระพูด เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาวกะโซ่ยิ่งนัก ในอดีต ประมาณ ๑๘๖ ปีก่อน ในสมัยราชการที่ ๒ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๕๙ ชาวไทยกะโซ่กลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง บริเวณเมืองมหาชัย ในแขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในภาคอีสานของประเทศไทย โดยการนำของ เพี้ยแก้ว นครอินทร์ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษผู้นำไทยชาวกะโซ่ ได้เห็นว่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารแวดล้อมไปด้วยที่ราบลุ่มเชิงเขา เหมาะสมในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อดำรงชีวิต จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า บ้านดงหลวง และหัวหน้าชาวไทยกะโซ่ต่อมาได้เป็นกำนันตำบลดงหลวงคนแรกมีบรรดาศักดิ์ว่า “หลวงมโนไพรพฤกษ์” ชาวไทยกะโซ่ในท้องถิ่นส่วนมากใช้นามสกุลเดียวกันคือ วงค์กระโซ่ และโซ่เมืองแซะ ชาวกะโซ่หรือบางแห่งก็เรียกว่า “โซ่” หรือ “โส้” แต่ในพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน “เขียนว่ากะโซ่” คำว่า กะโซ่มาจากคำว่า “ข่าโซ่” หมายถึงข่าพวกหนึ่งในตระกูลเดียวกันกับพวกข่าหรือบูรและถือว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับขอมโบราณและขอมเขมร กะโซ่ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างจากพวกข่าทั่วไป ชาวกะโซ่อีกพวกที่อพยพมาจากแขวงอัตปือของลาวไปอยู่ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ เรียกว่าพวกส่วยหรือกุย พูดภาษาเดียวกับชาวกะโซ่ ชาวกะโซ่ที่อพยพข้ามโขงมาในสมัยรัฐกาลที่ ๓ ได้มาตั้ง เมืองที่รามราช อยู่จังหวัดนครพนม เมืองกุสุมาลย์มณฑล อยู่จังหวัดสกลนคร พิธีกรรมโซ่ทั่งบั้ง เป็นภาษาชาวไทยอีสานเรียกชื่อพิธีกรรมของชาวกะโซ่ คำว่า “โซ่” หมายถึงพวกกะโว่ คำว่า ถั่ง/ทั่ง แปลว่ากระทุ้งหรือกระแทก คำว่า บั้ง หมายถึง บ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ โซ่ทั้งบั้งก็คือการใช้กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ปล้องกระทุ้งดินเป็นจังหวะและมีผู้ร่ายรำและร้องรำไปตามจังหวะในพิธีกรรม “ของชาวกะโซ่” พิธีเหยา ในการรักษาคนป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายๆกับพิธีกรรมของชาวอีสานทั่วไป เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่เป็นล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ ภาษาของชาวกะโซ่ ภาษาที่ชาวกะโซ่ใช้คือ ภาษาโซ่ บางทีก็เรียกว่า “ข่าโซ่” เป็นภาษาหนึ่งของตระกูลออสโตรเอเชียติกกลุ่มภาษามอญ/เขมร สาขากุตุ เช่น ภาษาโซ่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มะนะชิจัก กลิ่นตัว Body odour โบย เมา Drunk อะฮัก ไอ Cough ฮูน ดม Sniff